การสั่งตัดไม้อัด

มีคำถามมากมาย สำหรับมือใหม่ในการประกอบชั้นเหล็กฉาก คือเรื่อง ไม้อัด และ ขนาดชั้นที่เหมาะสมกับการรับน้ำหนัก ของเหล็กฉากเจาะรู ทั้งการใช้งาน และเรื่องการรับน้ำหนักและงบประมาณ หลัก ๆ ที่แนะนำกันไปคือ ให้ดูที่ความกว้างเป็นหลักครับ ขอยาว 1.2เมตร หรือ 120ซม. เท่านั้น ไม่แนะนำเป็นอย่างอื่นเลย ยกเว้นสเปคที่เลี่ยงไม่ได้ ลูกค้าจะต้องพบกับปริมาณเหล็กและไม้ที่เหลือจากการตัดนั่นเอง

ตัวอย่าง 1

แบบร่างชั้นเหล็กฉากขนาด 200x150x40ซม.

ลูกค้าต้องการชั้นสูง 200ซม. ยาว 150ซม. ลึก 40ซม. แบบมีคานกลาง นำเหล็ก3เมตรมาตัดจะได้ดังนี้

  • (4เส้น) 200-40-40-20*
  • (5เส้น) 150-150
  • (1เส้น) 40×7-20*

จะเห็นได้ว่า จะต้องใช้เหล็กฉากเจาะรู 10เส้น นำมาตัด เพื่อที่จะได้ชั้นไซส์นี้
*คือเศษเหลือจากการตัด แต่… เท่านั้นยังไม่พอครับ มาดูเรื่องไม้อัด

ไม้อัดแผ่นเต็มจะมีขนาด244×122ซม. เมื่อต้องการแผ่นพื้นชั้น 150×40ซม. จะต้องตัดไม้แผ่นใหญ่ในลักษณะนี้ ทำให้เสียเศษไป 94ซม.

ตามภาพ เราจะเห็นได้ว่า ไม้อัด1แผ่นนั้น มีความยาวที่ 244×122ซม. การที่จะตัดไม้อัดเอามาวางเป็นชิ้นเดียวนั้น จะมีเศษเหลือ 94ซม.ครับ แล้วต้องใช้ไม้อัดถึงสองแผ่นมาตัด เพื่อที่จะได้จำนวนพื้นชั้นจำนวนเพียงพอกับความต้องการ เศษ 94ซม. เอาไปทำอะไรดีหล่ะทีนี้?
ในทางกลับกัน ดูตัวอย่าง2กันครับ

ตัวอย่าง 2

แบบร่างขนาดชั้น 240x120x40ซม.

ลูกค้าต้องการชั้น สูง 240ซม. ยาว 120ซม. ลึก 40ซม. มีคานกลาง 7ชั้น จะคิดเป็นตัวละกันนะครับ จะใช้เหล็กดังนี้

  • (4เส้น) 240-40-20*
  • (7เส้น) 120-120-40-20*
  • (1เส้น) 40×7-20*
  • (1เส้น) 40×3-180*

ทีนี้ มาดูที่จำนวนไม้อัดกันครับ

การตัดแบ่งไม้อัดใน1แผ่นใหญ่ ในตัวอย่างที่2นั้น จะได้ขนาดพื้นของชั้นเหล็กฉากเจาะรูที่ต้องการคือ 120×40ซม. 6ชิ้น

จุดนี้จะเห็นได้ว่า ใน1แผ่น สามารถตัดไม้อัดพื้นไปวางชั้นได้ถึง 6แผ่นพื้น ซึ่งเมื่อคำนวณจำนวนรวมไข้วกันไปเรื่อย ๆ แล้ว แบบยาว 120ซม. ยังไงก็คุ้มกว่า ยังไม่รวมการรับน้ำหนักของชั้น ซึ่งจะด้อยลงเมื่อชั้นมีความยาวมากขึ้น

*ตัวแปรการรับน้ำหนักของชั้นเหล็กฉากอีกหนึ่งอย่าง คือ ความหนาและลักษณะของไม้อัดที่ใช้ ไม่แนะนำแบบ MDF เพราะเมื่อเจอกับความชื้นในบ้านเราแล้ว แผ่นไม้จะบิดงอโก่งตัวได้ง่ายมาก ไม้อัดที่แนะนำคือแบบ Plywood แนะนำให้ทาสีย้อมไม้ก่อนใช้งาน เพื่อเคลือบพื้นผิว ส่วนใครไม่อยากทำสีหรือทาย้อมไม้ ให้ใช้แบบไม้อัดฟิลม์ดำไปเลย (ไม้แบบ) จะกันน้ำได้ในระดับนึงและไม่โก่งตัวง่าย แนะนำความหนา 9มิลขึ้นไป

ทางผู้จัดทำหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับหลาย ๆ ท่านนะครับ
สนใจสั่งสินค้า อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ คำถามที่พบบ่อย

Show Buttons
Hide Buttons
Add Friends